ความหมายของคำว่า ครูหมอ

คำว่า ครูหมอในภาษาไทยใหญ่ หมายถึงนักปราชญ์ผู้ที่รอบรู้ มีความชำนาญในศิลปวิชาการต่าง ๆ จนสามารถนำมาถ่ายทอด อบรม สั่งสอนให้ลูกหลานและอนุชนรุ่นหลังได้นำไปเป็นแบบอย่าง ยึดถือปฏิบัติ เป็นเครื่องประกอบการทำมาหาเลี้ยงชีพให้เกิดความสุข ความสมบูรณ์ ความเจริญรุ่งเรืองต่อตนเองและสังคม ครอบครัวประเทศชาติสืบต่อไป

!
บรรดาความรู้ความชำนาญ ความสามารถที่จะประดิษฐ์สรรพสิ่งทั้งหลายเป็นต้นว่า การทำถ้วยชามการทำเก้าอี้โต๊ะตั่ง การสร้างบ้านเรือนปราสาทราชวัง การแกะสลักรูปดอกไม้ สัตว์ คน และอื่น ๆ การจักสานลงรัก เขียนรูป ลวดลาย การทอผ้า การปักเป็นรูปต่างๆ การเล่นเครื่องคนตรีศิลปะการฟ้องรำ เช่น การฟ้อนโต การรำนกและฟ้อนรำอื่นๆ ด้านการก่อสร้างตึกรามบ้านช่อง การสร้างสะพาน ทำถนน ขุดร่องน้ำ เหมืองฝาย ขุดน้ำบ่อ การกสิกรรมทุกชนิด จนกระทั่งงานในหน้าที่พอบ้านแม่บ้าน งานด้านการปกครอง บ้านเมือง ด้านสุขนามัย ด้านการแพทย์การเภสัชกรรม ด้านความสนุกรื่นเริง วรรณคดี และวัฒนธรรมและฯลฯ ไม่ว่าบุคคลใดก็ตาม ถ้ามีความรู้ ความสามรถ ความชำนาญในสาขาใดสาขาหนึ่ง หรือหลายสาขา จนสามารถนำไปสอนผู้อื่น


ตั้งแต่ความรู้เบื้องต้นจนกระทั้งเบื้องสูงก็ดี หรือหากผู้นั้น ๆ ได้เรียบเรียงรวบรวมเป็นตำรับตำราไว้ก็ดี บุคคลเช่นนั้น เรียกว่า ครูหมอ

ด้วยเหตุที่จะเป็นการรักษาบรรดาสรรพความรู้ต่าง ๆ ตำ รับ ตำ รา ที่มีผู้รวบรวมเรียบเรียงไว้ ไม่สูญหายทำลายไป หรือถูกยืดไปโดยชนต่างชาติ ให้บรรดาความรู้ตำรับตำราต่าง ๆ ดังกล่าวยังอยู่ในมือคนไตย และยังให้ได้เจริญรุ่งเรืองแพร่ขยายไปกว้างขวางยิ่งขึ้น จึงควรจะเป็นหน้าทีของคนไตยจะได้ช่วยกันรวบรวม ฟื้นฟูปรับปรุงรักษาไปจนถึงรุ่นลูกหลาน และเห็นควรจะได้นำเผยแพร่แสดงให้เห็นประจักษ์ชัดในวันสำคัญวันหนึ่ง ซึ่งเราเรียกกันว่า วันครูหมอไตย

ในบรรดาครูหมอไตยของชาวไตยนั้น ที่ถึงแก่อนิจกรรมไปแล้วก็มีที่กำลังเริ่มรุ่งเรืองขึ้นมาก็มีที่สิ้นชีวิตไปแล้ว หากจะสืบค้นไปจนกระทั้งที่ได้กำเนิดคนไตยเรามาก็คงจะมีมากจนแทบประมาณไม่ได้ เพราะเหตุก็เป็นบุคคลสำคัญ รุ่นหลังเท่านั้นได้แก่ เจ้าธัมมะตีนนะ เจ้ากางเสอ เจ้ากอหลี่ นางคำกู่ เจ้าหน่อคำ เจ้าอมาตย์หลวง เจ้าส่างหลวง บ้านอ่าย เจ้าอระแคะ จะเรนาอ่อน จะเรป๋างหมู เจ้าวันนะหญ่าน เจ้าคำก๋า ต้นจุง เจ้าปีงหญ่าพอก๊ะ เป็นต้น (ท่านเหล่านี้มีผลงานด้านวรรณคดีในขณะเดี่ยวกันก็มีผลงานด้านยาแผนโบราณ ด้านโหราศาสตร์ และอื่น ๆ ด้วย ในบรรดาครูหมอไตยทียังมีชีวิตอยู่ในทางด้านศิลปการป้องกันตัวก็ได้แก่ ลงโงะหัวคา ทางด้านละคอนไตย ได้แก่ ลุงออแจ่ยะ นางเล็ก จายส่างส่วย ด้านการเล่นคนตรี สมัยใหม่ได้แก่ จายคำเหล็ก นายทีแสง จายตุ่มคำ จายเมาคำ นางหนุ่มโหม นางเอหม่น นางหนุ่มมาว ด้านวรรณคดี ได้แก่ ลุงตางแก จายก้านคำส่างราม จายป๊ะทุน จี้นกอนลาย (จายบ้านนอก) แซะคำ
นอกจากนี้ยังมีอีกมากที่ยังค้นหารวบรวมไม่ได้ เช่นทางด้านแกะสลัก ด้านทอผ้าเป็นลวดลาย ด้านช่องทอง ด้านจักสาน ด้านจิตรกรรม ด้านจิตรกรรม ด้านการก่อสร้าง ด้านพาณิชย์ ด้านการปกครองและอื่น ๆ

[caption id="" align="aligncenter" width="300"] วันเชิดชูเจ้าครูหมอไต (วันรำลึก)[/caption]

เพื่อเป็นการอนุรักษ์ และฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี ตลอดจนการรวบรวมเก็บรักษาหนังสือตำราต่าง ๆ ไว้ให้เป็นเครื่องแสดงถึงความสำคัญเจ้าครูหมอ หรือนักปราชญ์ผู้ทรงความรู้ และผลงานต่าง ๆ ของแต่ละท่าน จึงได้กำหนดให้มีวันสำคัญเพื่อรำลึกนึกถึงคุณูปการของท่านเหล่านั้น เป็นประจำทุกปี ซึ่งตรงกับวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 12 ของทุกปี เรียกว่าวันยกย่อง (เชิดชู) เจ้าครูหมอไต โดยมีการจัดงานทางวิชาการ สอบวัดความรู้ต่าง ๆ และมอบทุนการศึกษา เป็นต้น
สำหรับในเมืองไทย มีเจดีย์ และพิพิธภัณฑ์เจ้าครูหมอไต ที่บ้านใหม่หมอกจ๋าม ตำบล ท่าตอน อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ และได้มีการริเริ่มจัดงานวันเชิดชูเจ้าครูหมอไตขึ้นเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2517 และจัดสืบต่อ ๆ มาจนถึงปัจจุบัน

  

 

[caption id="" align="aligncenter" width="300"] จุดมุ่งหมายของการจัดงานวันครูหมอไตย[/caption]

วันครูหมอเป็นวันที่ชนชาติไทยได้เสาะแสวงหาครูหมอ ผู้ทีมีความรู้ ความชำนาญ ในความรู้สาขาต่างๆ เพื่อนำมายกย่องให้ปรากฏให้เป็นที่รู้จักกันทั่วหน้า สำหรับครูหมดผู้ล่วงลับไปนั้น ก็จะได้รับการทำบุญกุศลอุทศส่วนบุญให้ มีการทำทานให้ เช่น การสร้างสะพาน ศาลา ทางเดิน โรงพยาบาล โดยมีการเขียนชื่อครูหมอไตยกำกับไว้

สำหรับครูหมอทียังมีชีวิตอยู่ก็จะได้ ให้ท่านเป็นที่รู้จักกันทั่ว เชิญท่านมารับการปรนนิบัติยกย่องให้ปรากฏแก่ท่านทั้งหลาย การกระทำดังกล่าวเป็นหน้าที เป็นภาระของชาวไตยทุกคน
และเพื่อจะไม่ให้ความรู้ศิลปต่างๆ ที่มีมาครั้งดั้งเดิมนั้นสูญหายไป ตรงกันนข้ามกับแพร่ขยายขจรขจายไปทั่วๆ ให้ผู้มีอายุได้ยินได้ฟังบรรดาความรู้ หลักธรรมต่างๆ ให้คนที่ยังอยู่ในวัยหนุ่มสาวได้ร้องรำทำเพลง เช่นรำโต ตีกลอง รำนก ฟ้อนกาบฟ้อนลายไม้ ละคอนไตย และการละเล่นที่ต้องใช้กำลังต่างๆ อันมีมาแต่ดั้งเดิม
มีสุภาษิตขาวไทยว่า(กิ๋นน้ำอย่าลืมก้อคุดหม่อ กิ๋นเข้าอย่าลืมก้อก่อแต่นา)
ดื่มน้ำอย่าลืมคนขุดบ่อ และกินข้าวอย่าลืมผู้ก่อคันนา หมายความว่า เป็นคนอย่าลืมผู้มีคุณและเรา (ชาวไต) จะไม่ลืมบุญคุณของครูหมอไตยเรา
สำหรับผู้ที่ได้รับเชิดชูเป็นเจ้าครูหมอ ก็คือผู้มีความรู้และผลงานออกเป็นที่ประจักษ์และยอมรับของประชาชนทั่วไป เจ้าครูหมอเมื่อ 500 ปีที่ผ่านมาที่มีผลงานเป็นที่ประจักษ์มีมี 8 ท่าน แต่ท่านที่มีความสามารถถัดจาก 500 ปีขึ้นไปนั้น ซึ่งมีผลงานหลงเหลือเป็นที่ศึกษาอยู่บ้าง แต่ประวัติของท่านไม่ชัดเจนมีดัง

[caption id="" align="aligncenter" width="300"] เจ้าครูหมอเมื่อ 500 ปีก่อน[/caption]

สำหรับท่านที่มีความเก่งความสามารถทางด้านวรรณกรรมการแต่งกลอน และมีหนังสือออกมาเผยแพร่ต่อสังคมเมื่อก่อน 500 ปีนั้นยังมีอีกมาก คงมีแต่หนังสือที่ท่านเหล่านั้นได้แต่งเท่านั้น ที่ยังคงหลงเหลือให้เห็นอยู่บ้าง แต่สำหรับประวัติของท่านเหล่านั้น ยังคงต้องสืบค้นตามหาอยู่ต่อไป ท่านที่มีประวัติย่อ ๆ ที่สามารถรวบรวมได้นั้นมีดังนี้

  1. ลุงจ่อ เจ้าจ่อ หรือจเรจ่อ มีหนังสือออกมาจำนวนหนึ่ง และได้แปลพระไตรปิฎก ตอนสีลขัน
    ธวรรค คนแรก ซึ่งเจ้าครูหลวงเจ้าปัญญาโภคะได้นำมาเป็นแบบในการแปลพระไตรปิฏกในภายหลัง
  2. พระธรรมนันทะ วัดหนองคำ เมืองเหม่เมี่ยว หนังสือที่ทำออกเผยแพร่ คือ โลกนีติแปล
    พระปาฎิโมกข์แปล และประวัติจอหมุ่น ฯลฯ
  3. พระปุญญะ วัดบ้านยก ได้ทำหนังสือ และตาราออกเผยแพร่กว่าร้อยเล่ม
  4. พระกุสละ วัดคำ เมืองสีป้อ ได้ปริวรรคภาษาบาลีมาเป็นภาษาไตเป็นคนแรกสุด
  5. จเรยอดคำ บ้านจิง ซึ่งมีความเก่งด้านการแต่งกลอน มีลูกศิษย์ลูกหาเป็นจำนวนมาก

标签: none

添加新评论